5 องค์ประกอบของเว็บไซต์ที่ดี

Social Media Marketing

การทำการตลาดบนโซเชียลมีเดียในสมัยนี้ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงพื้นที่สื่อได้ง่ายคงไม่ต้องอธิบายอะไรมากใช่ไหมคะเพราะว่าทุกคนก็คงใช้งานโซเชียลมีเดียกันเป็นประจำทุกวันอยู่แล้ว จึงเป็นตัวเลือกที่หลาย ๆ แบรนด์หันมาทำกัน เพื่อสร้าง Awareness หรือการรับรู้ให้กับแบรนด์ 

Awareness คืออะไร? 

ถ้าแปลตรงตัวก็คือการสร้างการรับรู้ หรือ การตระหนักรู้ ในทางธุรกิจนี้การสร้างการรับรู้ให้กับแบรนด์เป็นสิ่งสำคัญมากเพราะจะทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักมากขึ้นรวมไปถึงกระตุ้นการตัดสินใจในการซื้อสินค้า หรือบริการนั้น ๆ จะเป็นการสร้างการรับรู้ให้ได้กว้างที่สุดเท่าที่จะทำได้ แค่ลูกค้าเห็นและรู้จักสินค้าและบริการของเรา ก็นับว่าได้ Awareness จากเขาแล้ว สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การทำโฆษณาโทรทัศน์ การทำโฆษณาโซเชียลมีเดีย การทำ Content Margeting ฯลฯ

ข้อดี

  • เป็นช่องทางที่สามารถใช้เก็บข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าได้ ด้วยการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สังเกตพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย เช่น การกดไลก์ การแชร์ การแสดงความคิดเห็นในแพลตฟอร์มต่าง ๆ และเมื่อคุณทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าของคุณได้แล้ว คุณสามารถเอาข้อมูลเหล่านั้นไปพัฒนาแบรนด์ของคุณให้เติบโตยิ่งขึ้นไปอีกได้

  • ศึกษาคู่แข่ง การทำการตลาดบนโซเชียลมีเดียเป็นอะไรที่หลาย ๆ แบรนด์เขาก็ทำกัน เราสามารถศึกษาคู่แข่งในตลาดได้จากจากการสังเกตวิธีทำการตลาดของเขา ว่าเป็ยอย่างไรแล้วเราสามารถนำมาปรับใช้อะไรกับธุรกิจของเราได้บ้างเพื่อให้เราอยู่เหนือกว่าคู่แข่ง
  • Brand Awareness ก็อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าการสร้างการรับรู้มีส่วนสำคัญอย่างมากที่จะทำให้แบรนด์ของคุณเป็นที่รู้จักมากขึ้น ด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อซื้อใจลูกค้า ทำให้ลูกค้ารู้สึกสนใจและอยากค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวสินค้าและตัวแบรนด์
  • Engagement คือการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแบรนด์กับลูกค้า เพราะโซเชียลมีเดียเป็นช่องทางสำหรับการสื่อสารที่ง่ายและสะดวกรวดเร็ว อ่านเพิ่มเติม 

ข้อเสีย

  • ต้องมีความเชี่ยวชาญในการทำการตลาดบนโซเชียลมีเดีย หากคุณไม่มีความเชี่ยวชาญมากพออาจทำให้คุณเสียเงินให้กับการยิงแอดโฆษณาไปโดยสูญเปล่า ไม่ใช่ว่าการยิงแอดโฆษณาไม่มีผลอะไรเลย แต่คุณต้องมีความเชี่ยวชาญก่อน

แนะนำช่องทาง

  • Facebook เป็นแพลตฟอร์มขนาดใหญ่ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในไทย สามารถใช้ Facebook เป็็นช่องทางการสื่อสารระหว่างแบรนด์กับลูกค้าไดหลายรูปแบบ นอกจากนี้ยังมี Business Page เพื่อธุรกิจและร้านค้าโดยเฉพาะ มีฟีเจอร์ต่างๆมากมายที่คอยสนับสนุนร้านค้าอีกด้วย
  • Instagram เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่ค่อนข้างได้รับความนิยมในหมู่วัยรุ่น คนทำงาน เพราะว่ามีจุดเด่นในด้านการแสดงความเป็นตัวตนของแบรนด์ ด้วยรูปภาพหรือวิดิโอที่เป็นเอกลักษณ์
  • Tiktok เดิมทีเป็นแพลตฟอร์มที่มีรูปแบบ Content Video คลิปสั้น ๆ จาก Tiktok ได้รับความนิยมมากในยุคนี้เพราะด้วยพฤติกรรมของมนุษย์ที่เปลี่ยนไป ผู้คนมักชอบเสพสื่อที่สั้น กระชับ ได้ใจความ และให้ความบันเทิง Tiktok จึงค่อนข้างตอบโจทย์ในข้อนี้ นอกจากนี้ Tiktok ยังเป็นพื้นที่แสดงความคิดเห็น ความสามารถ ความเป็นตัวเองของผู้ใช้งานและแบรนด์ต่าง ๆ ด้วยวิดิโอสั้น ถ้าหากแบรนด์สร้างคอนเทนต์ได้โดนใจ ก็จะช่วยให้สามารถเข้าถึงลูกค้า และเพิ่มความรู้จักให้กับแบรนด์มากขึ้น
  • Twitter หรือ X เป็นแพลตฟอร์มที่มีความโดดเด่นในด้านการใช้ # (แฮชแทค) สมมุติว่าคุณทำ campaign marketing แล้วอยากให้แคมเปญของคุณถูกพูดถึงได้ง่ายคุณสามารถใช้ # (แฮชแทค) เพื่อเป็นช่องทางในการให้ลูกค้าพูดถึงแคมเปญของคุณได้ง่าย 
  • Youtube เป็นแพลตฟอร์มที่มีความโดดเด่นในเรื่องของวิดิโอ ไม่เหมือนกัน tiktok นะคะเพราะ youtube เป็นวิดิโอยาวและมีประเภทวิดิโอหลากหลายมากคุณสามารถสร้างวิดีโอคอนเทนต์มาลงในช่องทางนี้ เพื่อให้ผู้คนเข้าถึง และยังฝัง Link ของวิดีโออื่นๆในช่องของคุณลงในวิดีโอ เพื่อเพิ่มยอดวิวได้ด้วย หรืออีกทางหนึ่งคือการจ้าง Youtuber ให้รีวิวสินค้าหรือบริการให้กับแบรนด์ของคุณ 

ขั้นตอนการทำ 

1. ตั้งเป้าหมายในการทำ Social Media Marketing
การตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน เป็นสิ่งที่จะช่วยให้แบรนด์เข้าใจความต้องการของตัวเอง และสามารถกำหนดกลยุทธ์ รวมถึงวางแผนการตลาดที่เหมาะสมได้ นอกจากนี้ยังทำให้แบรนด์สามารถกำหนดแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่เหมาะสมได้อีกด้วย

2. รู้จักและเข้าใจกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์
การรู้จักและเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย จะช่วยให้แบรนด์สามารถกำหนดทิศทางของคอนเทนต์ให้เหมาะสมกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้ สำหรับแบรนด์ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการทำ Social Media Marketing ก็อาจจะเริ่มศึกษาจากแบรนด์ที่มีความใกล้เคียงกัน เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการทำคอนเทนต์ หรืออาจจะทดลองคอนเทนต์หลาย ๆ แบบแล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์และพัฒนาคอนเทนต์ให้ดีขึ้นต่อ ๆ ไป

3. วางแผนคอนเทนต์ที่จะทำ
เมื่อเข้าใจความต้องการของกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นได้แล้ว สิ่งต่อไปที่จะต้องให้ความสนใจไม่แพ้กันก็คือ การวางแผนคอนเทนต์ที่จะทำในแต่ละวัน โดยอาจจะเริ่มต้นด้วยการกำหนดประเภทของคอนเทนต์ที่เหมาะสมกับแบรนด์ เช่น คอนเทนต์ให้ความรู้, คอนเทนต์ Q&A, คอนเทนต์แบบ Real-Time เป็นต้น จากนั้นจึงค่อยมีการจัดตารางคอนเทนต์ (Content Calendar) เพื่อกำหนดว่าวันไหนควรลงคอนเทนต์อะไร

4. ลองหันมาใช้ Influencers
เมื่อแบรนด์เริ่มเป็นที่รู้จักและมียอดขายเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ อาจถึงเวลาที่แบรนด์จะต้องหันมาให้ความสนใจกับการ Influencers ดูบ้าง ซึ่งในปัจจุบันก็มี Influencers ให้เลือกหลายประเภท ตั้งแต่ Nano Influencers, Micro Influencers, Macro Influencers และ Mega/Celebrity Influencers โดยงบประมาณในการจ้างงานก็จะแตกต่างกันไป

5. จัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล
ขั้นตอนสุดท้ายของการทำ Social Media Marketing ก็คือ การวิเคราะห์ผลลัพธ์ ซึ่งจะทำให้แบรนด์รู้ได้ว่า กลยุทธ์ต่าง ๆ ที่ทำไป ช่วยให้แบรนด์ไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ได้หรือไม่ ธุรกิจมีการเติบโตไปมาก-น้อยแค่ไหน ต้องมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์อะไรบ้างเพื่อให้แบรนด์ไปถึงเป้าหมายได้ นอกจากนี้ยังช่วยให้แบรนด์สามารถวิเคราะห์และพัฒนาคอนเทนต์ให้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายมากขึ้นได้อีกด้วย